ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)


ภาวะโลกร้อน  (Clobal  warming)

ชั้นบรรยากาศของโลก  ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้เหมาะสม  แบ่งออกเป็น  ๕  ชั้น  ดังนี้

๑.  โทรโพสเฟียร์  (Troposphere)

๒.  สตาร์โทสเฟียร์  (Startosphere)

๓.  เมโสสเฟียร์  (Mesosphere)

๔.  เทอร์โมสเฟียร์  (Thermosphere)

๕.  เอ็กซ์โซสเฟียร์  (Exosphere)

๑.  โทรโพสเฟียร์  (Troposphere)

เป็นสภาพอากาศที่อยู่รอบตัวเรา  ตั้งแต่พื้นโลก ๐ จนถึงความสูง  ๑๐  กิโลเมตร  เช่น ร้อน  หนาว  ฝนตก หิมะตก  รวมถึงพายุลักษณะต่างๆด้วย  อุณหภภูมิชั้นนี้ยิ่งสูงยิ่งหนาว  ทุกๆความสูงหนึ่งกิโลเมตร  อุณหภูมิจะลดลง  ๖.๕  องศาเซลเซียส  ที่เป็นเช่นนี้เพราะระยะความห่างจากพื้นโลกที่เกิดปฏิกิริยาจากรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์และสิ่งที่อยู่บนพื้นโลก   เช่น  ดิน  หิน  น้ำ  ป่าไม้   

๒.  สตาร์โทสเฟียร์  (Startosphere)

ที่ความสูงระดับ  ๑๐-๕๐  กิโลเมตรจากพื้นโลก    เป็นชั้นที่อากาศนิ่ง  สงบ  เหมาะสำหรับการบินของเครื่องบินไอพ่น  นอกจากนี้ยังมีชั้นโอโซน  (Ozone :  O3)  ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเป็นเกราะป้องกันรังสีอันตรายจากดวงอาทิตย์  เช่น  รังสีอุลตร้าไวโอเลต  รังสียูวี   อุณหภูมิชั้นนี้ยิ่งสูงยิ่งร้อน

๓.  เมโสสเฟียร์  (Mesosphere)

ที่ระดับความสูง  ๕๐-๘๐  กิโลเมตร   เป็นชั้นที่ป้องกัน  อุกกาบาต  สะเก็ดดาว    หรือกระสวยอวกาศ  ไม่ให้หล่นลงมาบนโลก  โดยทำให้วัตถุเหล่านั้นเกิดการเผาไหม้เราจึงปลอดภัย  อุณหภูมิในชั้นนี้จะยิ่งสูงยิ่งหนาวอีกครั้งเพราะอยู่ห่างจากแหล่งความร้อนที่เกิดจากโอโซนทำปฏิกิริยากับรังสีอุลตร้าไวโอเลต

๔.  เทอร์โมสเฟียร์  (Thermosphere)  ที่ความสูงจากพื้นโลก ๘๐-๕๐๐  กิโลเมตร  เป็นชั้นที่มีอากาศเบาบาง  และมีปฏิกิริยาทางเคมีของแสง  ทำให้อานุภาคของอากาศแตกตัวอยู่ในรูปของ  ไอออน  (ion)   ชั้นบรรยากาศชั้นนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า  “ไอโอโนสเฟียร์” (Ionosphere)  ประจุไอออนเหล่านี้ทำให้เกิดการสะท้อนของคลื่นวิทยุ  AM  และ  FM  

๕.  เอ็กซ์โซสเฟียร์  (Exosphere)  

ที่ความสูง  ตั้งแต่  ๕๐๐  กิโลเมตรจากพื้นโลกขึ้นไป  เป็นชั้นที่อากาศเบาบาง  ประจุของอากาศ  เช่น    ไฮโดรเยน  (Hydrogen) และ ฮีเลี่ยม  (Helium)   อาจหลุดไปในอวกาศ  เทคโนโลยีอวกาศอย่างยานอวกาศหรือดาวเทียมจะโคจรอยู่ในชั้นนี้

ในเมื่อโลกมีเกราะป้องกันที่แข็งแรงขนาดนี้  ทำไมโลกของเราจึงตกอยู่ในภาะโลกร้อนได้

ภาวะโลกร้อน  คือ  ภาวะที่อุณหภูมิเฉลี่ยที่พื้นผิวโลกทั้งพื้นดิน  และพื้นน้ำสูงขึ้น  พบมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่  ๒๐  และคาดว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมีสาเหตุที่สำคัญ  คือ  การเกิดสภาวะเรือนกระจก  (Greenhouse  Effect)

***   ปี  ค.ศ.  ๑๘๒๔   โจเซฟ  เฟอร์ริเย่ร์  (Joseph  Fourier)    นักฟิสิกศ์ชาวฝรั่งเศส  ได้คันพบ  “สภาะเรือนกระจก”

*** ปี  ค.ศ.  ๑๘๙๖   สเวนเต้  แอร์เรนนีอูส  (Svante  Arrhenius)  นักเคมีชาวสวีเดน   ได้ค้นพบ  “วิธีทดสอบหาปริมาณความร้อนในสภาวะเรือนกระจก”

สภาวะเรือนกระจก  มีผลต่อสภาวะโลกร้อน  อย่างไร

เมื่อโลกอยู่ในสภาวะปกติ  ดวงอาทิตย์จะแผ่รังสีความร้อนมายังโลกในรูปแบบรังสีคลื่นสั้น  เมื่อรังสีคลื่นสั้นนี้ทำปฏิกิริยากับพื้นผิวโลกจะเปลี่ยนเป็นรังสีคลื่นยาวสะท้อนผ่านชั้นบรรยากาศออกไปนอกโลก  รังสีความร้อนที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ส่วนหนึ่งจะอยู่ที่พื้นโลก  บางส่วนจะสะท้อนกลับออกไปสู่อวกาศได้  และมีอีกส่วนหนึ่งที่จะสะท้อนกลับลงมายังพื้นโลกอีก  เพราะก๊าซเรือนกระจก  หรือ  Greenhouse  Gas ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ  ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสม  ก็าชเรือนกระจกที่สำคัญและมีอยู่ตามธรรมชาติ  เช่น  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์  (Carbo  dioxide  :  CO2) จากพืชและสัตว์  ก๊าซมีเทน  (Methane  :  CH4)  จากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ตามธรรมชาติ  ก๊าซไนตัสออกไซต์  (Nitous  Oxide  :  N2O)  จากการระเบิดของภูเขาไฟ  รวมถึงหยาดน้ำฟ้า  เช่น  เมฆ  หมอก  และไอน้ำ  ก็สามารถสะท้อนคลื่นความร้อนได้เช่นกัน  ถ้าไม่มีก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ในชั้นบรรยากาศคอยสะท้อนคลื่นความร้อนกลับมายังโลก  จะทำให้พื้นโลกมีอุณหภูมิประมาณติดลบ  ๔๐  องศาเซลเซียส  แล้วเราจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร  ดังนั้นเจ้าก๊าซเรือนกระจกจึงไม่ใช่ปีศาจร้ายของโลกเสมอไป  แต่เมื่อโลกอยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุลเนื่องจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากเกินปริมาณปกติในชั้นบรรยากกาศ  เมื่อดวงอาทิตย์แผ่รังสีความร้อนมายังโลก  รังสีส่วนที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปสู่ชั้นบรรยากาศไม่สามารถออกไปได้  เพราะถูกก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากเกินปกติสะท้อนกลับมายังพื้นโลก  เราเรียกสภวะนี้ว่า  “สภาวะเรือนกระจก”  เมือความร้อนถูกสะท้อนกลับมายังพื้นโลกในปริมาณมากเกินปกติทำให้โลกร้อนขึ้น  โลกของเราจึงตกอยู่ในภาวะโลกร้อนหรือ  Global  warming  นั่นเอง  แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีหละ


SelectionFile type iconFile nameDescriptionSizeRevisionTimeUser